ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 04 มกราคม 2564 จำนวนผู้เข้าชม 76 คน
กด Like กด Share บทความให้เพื่อน
Tweetในสมัยก่อนนั้น คนที่อาศัยอยู่ห่างไกลความเจริญ อยู่บนที่ราบสูง อยู่บนดอย ป่วยเป็นโรคเอ๋อ โรคคอพอก และความผิดปกติจากโรคขาดสารไอโอดีนจำนวนมาก ทำให้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงให้ความสนพระทัยในการป้องกัน แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพพสกนิกรของพระองค์
เมื่อครั้ง เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า ประชาชนจำนวนมากในถิ่นทุรกันดารป่วยเป็นโรคขาดสารไอโอดีนจำนวนมาก ทั้งเด็กเล็ก วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ จึงพระราชทานให้นำเกลือไอโอดีนไปแจก แม้ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก มีพระราชกระแสรับสั่งให้ดำเนินการนำเฮลิคอปเตอร์นำเกลือไปแจกแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว
ช่วงแรกๆในการผลิตเกลือผสมไอโอดีน จ. เชียงใหม่ ค่อนข้างลำบากมาก การขนส่งและการผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน เท่าที่ควร
เริ่มต้นจากโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทรเป็นโรงเรียนที่สอนนักเรียนมีปัญหาการได้ยิน ได้ผลิตเกลือไอโอดีนขึ้นมา โดยการผลิตนั้น นำไอโอดีนขนส่งมาจากบ่อเกลือจังหวัดน่านแล้วเข้าสู่ กระบวนการ คือ ใช้พลั่วผสมบนกระบะสแตนเลส นำมาผสมไอโอดีนแพ็กใส่ถุงด้วยมือ แต่ชาวบ้านหลายคนไม่กล้านำมาใช้
ปี พ.ศ. 2536 พระองค์เสด็จทอดพระเนตร การผลิตเกลือ โดยเครื่องผสมเกลือไอโอดีนที่วิทยาลัยเทคนิค จ. เชียงใหม่คิดค้นขึ้น ถวายแด่สมเด็จพระเทพ ฯ โดยสมเด็จพระเทพฯทรงมีพระราชดำรัสรับสั่งวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ให้คิดค้น เครื่องผสมเกลือไอโอดีนเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชทานพระราชดำริแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม ความว่า
“ให้พิจารณา การแก้ปัญหาของการขาดสารไอโอดีนของราษฎร โดยการสำรวจพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ ถึงปัญหาและความต้องการเกลือ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นที่จะมีปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกันโดยเฉพาะ ต้องสำรวจ เส้นทางเกลือ ว่าผลิตจากแหล่งใด ก็น่าที่จะนำเอาไอโอดีนไปผสมกับแหล่งผลิตต้นทางเกลือ เสียเลยทีเดียว”
ในครั้งที่ พระองค์เสด็จพระราชทานเกลือด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ที่อำเภอ สะเมิง จ.เชียงใหม่ นั้น พระองค์ได้รับเชื้อไมโครพลาสมา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พระองค์มีพระทัยเต้นไม่ปกติ และเข้ารับการผ่าตัดในปี พ.ศ. 2538
หลังได้รับการผ่าตัดไม่นาน พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในโครงการต่าง ๆ ดังเดิม โดยมิได้ทรงพักพระวรกาย ยังทรงงานอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย
วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540 สภาควบคุมโรคไอโอดีนานาชาติ (International Council For Iodine Deficiency Disorder : ICCIDD) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองสภาฯ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เพื่อสดุดีเกียรติคุณแด่พระองค์ เนื่องจากทรงเป็นผู้นำ ผู้บุกเบิก ดำเนินงานด้านโครงการควบคุมปัญหาการขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย จนเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาคมโลก
นับแต่นั้นมา วันที่ 25 มิถุนายน ของทุกปี จึงถือเป็นวันไอโอดีนแห่งชาติ
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้…..
Cr. Picture & Information http://www.wisegeek.com/what-is-rock-salt.htm http://www.rdpb.go.th http://www.ohm.go.th |
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 04 มกราคม 2564
จำนวนผู้เข้าชม 76 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
Service Design ทำอย่างไร ?
ใครๆก็พูดถึงการทำการตลาดบนโลกออนไลน์และออฟไลน์อย่างมาก ทั้งทางเพจ เว็บไซต์ Podcast หรือสื่อสังคมอย่าง Clubhouse ยิ่งในช่วงที่วิกฤติทางเศรษฐกิจ คนทำงานประจำออกมาพัฒนาทำแบรนด์ของตนเอง
วิธีทำ OKRs Coaching
ในช่วงปีแรกของการจัดทำ OKRs ควรมีการวางแผนการโค้ชกระตุ้นผลงานเรียก “OKRs Coaching” ให้การจัดทำ OKRs บรรลุได้ตามเป้าหมายงานที่ตั้งไว้ในแต่ละไตรมาส โค้ชจะทำการค้นหาสิ่งที่ผู้ได้รับการโค้ชให้แสดงออก
นักสื่อสารที่ทรงพลังมีนิสัย 10 ข้อ
หากท่านได้อ่านบทความนี้ถือเป็นโอกาสดี ได้เรียนรู้กลวิธีปรับนิสัยการสื่อสารให้ทรงพลังสร้างเสน่ห์ชวนมอง ไม่ว่าท่านอยู่ในการงานหน้าที่อาชีพระดับใด นักธุรกิจ ผู้จัดการ หัวหน้างาน นักขาย พ่อค้า ครู
บุคลิกภาพดีมีเสน่ห์ (ตอนที่ 1 หลักการแนะนำตัว)
การจำชื่อได้จึงเป็นการสร้างบุคลิกภาพ(Personality)ที่ดีให้เกิดแก่ตัวเรา นอกจากจำชื่อเรียกชื่อได้แม่นยำแล้ว สิ่งสำคัญในการสร้างบุคลิกภาพที่ดีในตนเองคือ หลักการแนะนำตัวให้ผู้พบเจอประทับใจ
ตัวอย่างวิธีกำหนดเป้าหมาย (Target) KPIs
ในการเขียนดัชนีชี้วัดผลงานหลัก(Key Performance Indicators) 1 ตัวชี้วัดทั้งระดับหน่วยงาน(Unit/Department KPI)และรายบุคคล(Individual KPI)นั้น มีองค์ประกอบในการเขียนหลายข้อเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้รับ
เกณฑ์เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งแบบแบ่งกลุ่ม (Career Path and Band)
จากส่วนหนึ่งของงานวิจัยบริษัทฯ ที่ทำการศึกษาหัวข้อ “แรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันในองค์กร” กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน พบว่า พนักงานที่ทำงานแต่ละหน้าที่ในองค์กรนั้นๆ มีความต้องการขั้นพื้นฐานที่แตกต่าง