ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 09 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวนผู้เข้าชม 167 คน
กด Like กด Share บทความให้เพื่อน
Tweetในการเขียนดัชนีชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicators) 1 ตัวชี้วัดทั้งระดับหน่วยงาน (Unit/Department KPI) และรายบุคคล (Individual KPI) นั้น มีองค์ประกอบในการเขียนหลายข้อเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้รับมีความชัดเจน ครอบคลุม ตรงเป้าประสงค์องค์กร เช่น
โดยหลักการเขียนเป้าหมายนั้นมีคำถามว่า….
คำตอบ : จำเป็น เพราะทำให้นโยบายที่ตั้งไว้ได้มีการตอบสนองขับเคลื่อนจริงทุกหน่วยงาน มีทิศทางที่ชัดเจน |
คำตอบ : เลือกกำหนดได้หลายแบบ เช่น กำหนดเป้าหมายดึงมาจาก นโยบายองค์กร (Policy) ข้อมูลตัวเลขการเปรียบเทียบจาก คู่แข่งทางธุรกิจอื่น (Benchmarking) ประมาณการตัวเลขจากกลุ่มผู้ดำเนินงาน (Forecast) |
คำตอบ : ผู้บังคับบัญชากำหนดหรือประมาณการร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา |
วิธีการกำหนดตัวเลขกระจายค่าในช่องเป้าหมายมี 5 แบบ ที่ใช้กันในปัจจุบัน
ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์บังคับเฉพาะแบบ ขึ้นอยู่กับการตั้งตัวชี้วัดมีความสอดคล้องสำคัญมากน้อยเพียงใดกับนโยบายกลยุทธ์การทำงาน ต้องการให้ค่าเป้าหมายกระจายแบบใดจึงจะเหมาะสมกับตัวชี้วัดข้อนั้นๆ
ตัวอย่าง บริษัทขนส่งสินค้า (Logistics) รับส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วประเทศไทย
เป้าหมายคือการสูญเสียชีวิตจากผู้ขับขี่ขณะปฏิบัติหน้าที่งานเป็น ศูนย์ (0ราย)
ในแบบข้างต้นใช้ได้แต่ไม่ค่อยนิยมใช้มากนักเพราะมีช่องว่างความสำเร็จของคะแนน จะเห็นว่าช่วงคะแนน 4 3 2 ไม่มีการให้ค่าคะแนนหากทำได้ตามเป้าหมายได้คะแนนเต็ม ตกเกณฑ์จากที่ตั้งไว้เพียงหนึ่งตำแหน่งคือได้ลำดับ 1 คะแนนเท่านั้น
ในข้อนี้ผู้กำหนดบางองค์การมองว่าไม่ยุติธรรม ความเสี่ยง (Risks) โอกาสในการเกิดไม่ได้ตามเป้าหมายมีแน่นอน ซึ่งในการจัดทำ KPI การกำหนดเป้าหมายแบบ Meet or Not Meet กำหนดได้ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลเดิม (Statistic History) มีอัตราการเกิดเท่าใด ถ้ามีมากหลายรายจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมรอบด้าน ผู้เขียนแนะนำว่าไม่ควรเลือกกำหนดในแบบนี้
2. แบบ Relation :ใช้สำหรับการกำหนดตัวเลขเดี่ยวๆค่าใดค่าหนึ่ง โดยในช่วงระดับ
5คะแนน อาจกระจายลำดับตัวเลขมากที่สุดหรืออาจที่น้อยที่สุดได้
ตัวอย่าง บริษัทนำเข้าส่งออกสินค้า (Import-Export)
เป้าหมายคือจำนวนครั้งในการจัดทำใบรายการสั่งซื้อผิดพลาดเป็น 3 ครั้ง
ในแบบ Relation มีข้อดีคือหากไม่มีข้อมูลตัวเลขในอดีตที่แน่นอนย้อนหลังไป 3-5 ปี เป็นตัวชี้วัดใหม่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการ หรือโอกาสเกิดตามเป้าหมายจริงมากกว่าน้อยกว่าเดิมโอกาสคลาดเคลื่อนเลขไม่เกิดค่าบวกลบ 10 % สามารถเลือกใช้หลักการกระจายข้อมูลนี้ได้ เน้นการให้คะแนนเชิงบวกสิ่งที่เกิดมากที่สุดและเชิงลบสิ่งที่เกิดน้อยที่สุด
ไม่เหมาะสมสำหรับกำหนดตัวเลขเป้าหมายที่เคยจัดตัวชี้วัดข้อนี้มาแล้วหลายๆปี ทบทวนข้อมูลทุกรอบการประเมินยังคงมีค่าตัวเลขเท่าเดิม ทำให้ไม่ตรงกับหลักSMART ไม่เกิดความท้าทาย
3. แบบ Range :ใช้สำหรับการกำหนดตัวเลขเป็นช่วงคะแนน เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอค่าคะแนนและโอกาสบรรลุเป้าหมายได้
ตัวอย่าง บริษัทรับทำประกันภัยทางรถยนต์
เป้าหมายคือเปอร์เซ็นต์การจัดส่งเอกสารใบกรมธรรม์ให้ลูกค้าPremiumทันกำหนดเวลาภายใน 2 วันทำการ (เป้าหมาย 90 %)
ในแบบ Range เป็นการกระจายข้อมูลแบบช่วง ที่มีจำนวนช่วงเท่ากันทุกช่วงคะแนนยกเว้นในช่วงคะแนนมากที่สุด 5 คะแนนหรือน้อยที่สุด 1 คะแนนค่าช่วงตัวเลขอาจไม่เท่าอีก 3 ช่วงคะแนน ดังตารางภาพที่ 3
นิยมใช้ในการตั้งตัวชี้วัดแบบนี้เนื่องจากข้อมูลเดิมค่าเป้าหมายอาจยังไม่สามารถระบุได้ตัวเลขแน่นน การแบ่งช่วงตัวเลขมีโอกาสได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายเป็นจริงได้ไม่ยากหรือง่ายไป
4. แบบ Regression : เป็นการให้คะแนนเต็มและลดลงในลำดับถัดไป การใช้แบบนี้เหมาะสำหรับค่าเป้าหมายที่มีค่าสูงสุดแล้ว ลดหลั่นตัวเลขลงในแต่ละช่วงคะแนนระดับถัดไป
5. แบบ Condition : การให้ค่าคะแนนพร้อมเงื่อนไขเพิ่มเติมในข้อนั้นๆ ใช้กรณีไม่อาจเปลี่ยนการตั้งการวัดผลเป็นข้ออื่นได้ค่าเป้าหมายในอดีตสูงสุดหรือไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานแผนก มาตรฐานขององค์กร ตัวชี้วัดคุณภาพเพื่อประเมินระบบในองค์กร เช่น HA JCI ISO OSHA มาตรฐานข้อกำหนดราชการของ ก.พ.
จากตัวอย่างวิธีเขียน ค่าเป้าหมาย (Target) เบื้องต้น หากผู้กำหนดได้ศึกษาทำความเข้าใจการจัดทำระบบประเมินผลงานแบบ KPI เลือกตัวชี้วัดได้สอดคล้องนโยบาย ตรงกับหน้าที่งานและมีข้อมูลตัวเลขอ้างอิงเดิมสนับสนุน
การตั้งค่าเป้าหมายไม่ใช่เรื่องยากแต่ยากกว่าคือ “การขับเคลื่อน KPI ให้มีสัมฤทธิ์ผลตามไตรมาสได้อย่างไร” เรื่องเหล่านี้ต้องมาทบทวนแผนงาน Action Plan ตามหลัก PD-CAT อีกครั้ง แผนงานที่ดีต้องมี Timeline ผู้รับผิดชอบ ประเมิน ประชุม มีการตรวจสอบได้ตลอดเวลา
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 09 กุมภาพันธ์ 2564
จำนวนผู้เข้าชม 167 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
วิธีทำ OKRs Coaching
ในช่วงปีแรกของการจัดทำ OKRs ควรมีการวางแผนการโค้ชกระตุ้นผลงานเรียก “OKRs Coaching” ให้การจัดทำ OKRs บรรลุได้ตามเป้าหมายงานที่ตั้งไว้ในแต่ละไตรมาส โค้ชจะทำการค้นหาสิ่งที่ผู้ได้รับการโค้ชให้แสดงออก
นักสื่อสารที่ทรงพลังมีนิสัย 10 ข้อ
หากท่านได้อ่านบทความนี้ถือเป็นโอกาสดี ได้เรียนรู้กลวิธีปรับนิสัยการสื่อสารให้ทรงพลังสร้างเสน่ห์ชวนมอง ไม่ว่าท่านอยู่ในการงานหน้าที่อาชีพระดับใด นักธุรกิจ ผู้จัดการ หัวหน้างาน นักขาย พ่อค้า ครู
บุคลิกภาพดีมีเสน่ห์ (ตอนที่ 1 หลักการแนะนำตัว)
การจำชื่อได้จึงเป็นการสร้างบุคลิกภาพ(Personality)ที่ดีให้เกิดแก่ตัวเรา นอกจากจำชื่อเรียกชื่อได้แม่นยำแล้ว สิ่งสำคัญในการสร้างบุคลิกภาพที่ดีในตนเองคือ หลักการแนะนำตัวให้ผู้พบเจอประทับใจ
ตัวอย่างวิธีกำหนดเป้าหมาย (Target) KPIs
ในการเขียนดัชนีชี้วัดผลงานหลัก(Key Performance Indicators) 1 ตัวชี้วัดทั้งระดับหน่วยงาน(Unit/Department KPI)และรายบุคคล(Individual KPI)นั้น มีองค์ประกอบในการเขียนหลายข้อเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้รับ
เกณฑ์เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งแบบแบ่งกลุ่ม (Career Path and Band)
จากส่วนหนึ่งของงานวิจัยบริษัทฯ ที่ทำการศึกษาหัวข้อ “แรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันในองค์กร” กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน พบว่า พนักงานที่ทำงานแต่ละหน้าที่ในองค์กรนั้นๆ มีความต้องการขั้นพื้นฐานที่แตกต่าง
เลือกวัคซีนโควิดชนิดไหนดี ?
เป็นวัคซีนที่ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ วัคซีนป้องกันโปลิโอ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เป็นต้น ทำการเพาะเลี้ยงบน Vero cell เมื่อเพาะได้จำนวนมากจึงนำมาทำลายฆ่าเชื้อให้ตาย